วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้


หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้



หมายเหตุ

         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


แหล่งที่มา  http://ployfinalinternet.blogspot.com

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
   ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา 
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น 

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น 

ด้านการบันเทิง 
          - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป 
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้


แหล่งที่มา  http://blog.eduzones.com


ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่ 

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

แหล่งที่มา  http://www.thaigoodview.com


อินเทอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ตคืออะไร
                อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

แหล่งที่มา  http://www.thaiall.com





การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
จดหมายอีเลกทรอนิกส์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์(E-mail) หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ทั้งผู้รับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีที่อยู่เพื่อใช้ในการอ้างอิงการส่งและรับจดหมาย ที่อยู่สำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสองส่วนคือ รหัสผู้ใช้หรือ UserID ซึ่งจะได้รับจากผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนที่สองคือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ HostName โดยรูปแบบการเขียนจะเริ่มต้นด้วย UserID คั่นด้วยเครื่องหมาย '@' ตามด้วย HostName ดังนี้ userid@hostname ตัวอย่างเช่น u9999999@dusit.ac.th หมายถึงผู้ใช้มี UserID เป็น u9999999 และเป็นสมาชิกอยู่ที่ Host ชื่อ dusit.ac.th เป็นต้น
         จุดเด่นของอีเมล์ คือ สามารถติดไฟล์ไปกับอีเมล์ได้ ซึ่งไฟล์ที่ติดไปนั้นอาจจะเป็นไฟล์ภาพ ไฟล์โปรแกรม หรือไฟล์ข้อมูลก็ได้ เมื่อคุณส่งอีเมล์ไปมันจะวิ่งไปยังปลายทาง ในแทบจะทันที ไม่ว่าปลายทางจะอยู่ห่างจากออไปใกล้เพียงฝ่ามือหรือไกลสุดขอบโลกก็ตาม
         ข้อดีของอีเมล์ในสิ่งนี้ทำให้ผู้ที่ต้องติดต่อกับบุคคลในต่างประเทศนิยมที่จะติดต่อผ่านทางอีเมล์ เพราะว่าราคาถูก สะดวดรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีผู้รู้หลายท่านคาดการณ์ว่าต่อไปนามบัตรของผู้คนจะต้องมีอีเมลแอดเดรสกันทุกคนเช่นเดียวกับที่ต้องมีหมายเลขแฟกซ์ขององค์กรไว้ในนามบัตรยังไงยังงั้น

แหล่งที่มา  http://www.panyathai.or.th/



การเขียนจดหมายธุรกิจ


การเขียนจดหมายธุรกิจ


แนวคิด

1.       จดหมายธุรกิจมีหลายลักษณะ หลายประเภท ตามโอกาสที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.       การศึกษาเรื่องจดหมายธุรกิจช่วยให้สามารถร่างจดหมายติดต่องานต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการเขียน ตลอดจนสำนวนภาษา ข้อความที่โต้ตอบอันจะนำมาซึ่งค่านิยมที่ดีและความสำเร็จในการงาน

 

วัตถุประสงค์
1.       บอกความสำคัญของการใช้จดหมายในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจได้
2.       บอกประเภทของจดหมายที่ใช้โต้ตอบทางธุรกิจได้
3.       ใช่คำ  ประโยค  และระดับของภาษาในการเขียนจดหมายธุรกิจได้ถูกต้อง
4.       เรียงลำดับข้อความ หรือเนื้อหาสาระของจดหมายธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

 

เนื้อหาโดยสังเขป
                การเขียนจดหมายเป็นการส่งสารที่นิยมที่นิยมใช้กันมากทั้งในเรื่องส่วนตัว  เรื่องกิจธุระ  หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ  เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก ประหยัด และเป็นหลักฐานในการติดต่อเมื่อเกิดมีปัญหาขึ้น  ดังนั้น  การเขียนจดหมายควรจะระมัดระวังเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาให้ถูกต้อง
ชัดเจน  เพื่อให้การประกอบกิจธุระหรือการทำงานของตนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและประสบผลสำเร็จ

                หลักทั่วไปในการเขียนจดหมาย

                การเขียนจดหมายโดยทั่วไป  ผู้เขียนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.       เขียนให้ถูกแบบของจดหมายแต่ละประเภท
2.       ใช้คำขึ้นต้นให้เหมาะสมแก่ผู้รับตามฐานะหรือความสัมพันธ์กัน
3.       เขียนเนื้อหาให้ได้ใจความชัดเจน สมบูรณ์ และถูกต้องตามที่ต้องการ
4.       ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ถูกต้อง และสุภาพ
5.       เขียนด้วยลายมือที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ และอ่านได้ง่าย  ถ้าใช้พิมพ์ดีดก็ต้องรักษาความสะอาด  ไม่ให้มีรอยขูดขีดฆ่าหรือรอยลบ
6.       ใช้คำสรรพนาม และคำลงท้ายที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้รับ
7.       ใช้กระดาษเขียนจดหมายและซองที่มีสีอ่อนหรือสีสุภาพ  ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาด

การเขียนจดหมายนั้น  ขึ้นอยู่กับประเภทของจดหมายแต่ละประเภทด้วย ซึ่งโดยทั่วไป

สามารถแบ่งจดหมายออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
                1. จดหมายส่วนตัว  เป็นจดหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวโดยเฉพาะ  ซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยหรือสนิทสนมกันดี  เป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการ  เช่น
จดหมายไต่ถามทุกข์สุข  จดหมายแสดงความยินดี หรือเสียใจ เป็นต้น
2.       จดหมายกิจธุระ  เป็นจดหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องธุระการงานอันเป็นการติดต่อ
สื่อสารที่ไม่ได้เกี่ยวกับผลประโยชน์ในกำไรหรือขาดทุนทางด้านการค้าหรือธุรกิจ เช่น จดหมายเชิญวิทยากร  จดหมายขอเข้าชมสถานที่ เป็นต้น
3.       จดหมายธุรกิจ  เป็นจดหมายที่ติดต่อเกี่ยวกับเรื่องการค้าระหว่างบุคคล ร้านค้า บริษัท
ต่าง ๆ ที่เนื่องด้วยกำไรหรือขาดทุน  เช่น จดหมายสั่งซื้อสินค้า  จดหมายทวงหนี้  จดหมายสมัครงาน  เป็นต้น
4.       จดหมายราชการ หรือหนังสือราชการ  เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างหน่วยงาน
ของรัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวกับเรื่องราชการ เช่น หนังสือราชการภายนอก  หนังสือคำสั่ง  หนังสือข้อบังคับ  เป็นต้น
การเขียนจดหมายในที่นี้  จะฝึกการเขียนจดหมายทางธุรกิจ  อันได้แก่ จดหมายสมัคร
งาน  จดหมายขอเปิดเครดิต  จดหมายเสนอขายสินค้า  จดหมายสอบถาม  จดหมายสั่งซื้อสินค้า  จดหมายต่อว่า  และจดหมายทวงหนี้

                การเขียนจดหมายสมัครงาน

                จดหมายสมัครงานเป็นจดหมายสำหรับบุคคลที่จะก้าวไปสู่อาชีพที่ตนมีความถนัดและเหมาะสม  เพราะหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะประกาศรับสมัครบุคคลเข้าทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ  แม้ว่าหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะมีวิธีรับสมัครและสอบคัดเลือกเป็นระบบอยู่แล้ว  แต่ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะให้เขียนจดหมายสมัครงานหรือไปสมัครด้วยตนเอง  ในการเขียนจดหมายสมัครงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องเรียกร้องความสนใจจากผู้รับสมัครให้มีความต้องการที่จะรับเข้าพิจารณาตามตำแหน่งหน้าที่ที่เปิดรับสมัครไว้  เพราะจดหมายสมัครงานก็เปรียบเสมือนการเสนอขายสินค้าซึ่งในที่นี้ก็คือความรู้ความสามารถของเรา  ดังนั้น  การเขียน
จดหมายสมัครงานจึงต้องเขียนให้ดีที่สุดโดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
                1. การเลือกใช้กระดาษ และซองจดหมาย  ควรเลือกใช้กระดาษเขียนจดหมายและซองสีขาว  หรือถ้าเป็นสีก็เป็นสีอ่อน หรือสีสุภาพ  สะอาด  แต่ไม่ควรใช้กระดาษและซองของราชการ  หรือกระดาษและซองที่มีหัวกระดาษของบริษัทห้างร้าน หรือมีลวดลายต่าง ๆ
                2.  การพิมพ์หรือเขียนข้อความในจดหมาย  ควรพิมพ์ข้อความในจดหมาย  นอกจากจะระบุว่าให้เขียนด้วยลายมือ  ผู้สมัครก็ควรเขียนด้วยลายมือของตนเอง  ห้ามให้ผู้อื่นเขียนให้  เพราะผู้รับสมัครต้องการพิจารณาบางประการเกี่ยวกับลายมือของผู้สมัคร
                3.  การใช้สำนวนภาษา  ควรใช้สำนวนภาษากึ่งทางการ หรือภาษาเขียนที่ถูกต้อง  ชัดเจน ทั้งตัวสะกด การันต์ ไม่มีรอยขูดฆ่า ขีดลบ หรือมีร่องรอยแก้ไข เพราะจะทำให้ไม่น่าดูหรือส่อให้เห็นว่าผู้สมัครทำงานไม่เรียบร้อย
                4.  การเขียนข้อความในจดหมาย  ควรเขียนให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม วกวน หรือร่ำพรรณนาความทุกข์ยากจนเกินเหตุ  และไม่กล่าวถึงปัญหาของตนทั้งปัญหาส่วนตัว  ด้านครอบครัว  และการทำงาน  เพราะเราจจะกลายเป็นตัวปัญหาของหน่วยงานที่สมัครมากกว่าที่จะแก้ปัญหาของหน่วยงานนั้น
                ส่วนการเขียนข้อความในจดหมายสมัครงานนั้น  ควรแบ่งเป็นย่อหน้าให้ใจความใน
แต่ละย่อหน้ามีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งมีหลักในการเขียนดังนี้
1.       ย่อหน้าแรก  กล่าวถึงการทราบข่าวการรับสมัครงานว่าทราบจากแหล่งใด  มีความ
สนใจและความเหมาะสมสอดคล้องกับตำแหน่งที่ผู้รับสมัครต้องการ เช่น  ผมได้อ่านประกาศรับสมัครงานในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ  ฉบับวันที่ 12 กันยายน  2546  ว่าบริษัทของท่านรับสมัครพนักงานตำแหน่งการเงินหลายตำแหน่ง  ผมสนใจใคร่ขอสมัครงานในตำแหน่งดังกล่าว
2.       ย่อหน้าที่สอง  ให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัวที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา  เช่น  ชื่อ
นามสกุล  อายุ  การศึกษา  โดยเน้นวิชาที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง  หน้าที่  ความสามารถพิเศษ  ประสบการณ์  หรือกิจกรรมที่เคยทำเกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัคร  เช่น  ผมมีอายุ 21 ปี  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะวิทยาการจัดการ  สาขาวิชาการบัญชี  จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เมื่อปีการศึกษา 2545 และได้เข้าทำงานทันทีโดยเป็นพนักงานบัญชี ของบริษัทไมตรีจิต จำกัด  ปัจจุบันก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่  แต่ที่ต้องการจะเปลี่ยนงานใหม่ก็เพื่อประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างออกไป และเพื่อความก้าวหน้าและการมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งในระดับสูงขึ้นด้วย
3.       ย่อหน้าที่สาม  อ้างถึงผู้รับรองหรือบุคคลที่จะให้รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับตนเอง
ได้  เช่น  อาจารย์ที่เคยสอน  หัวหน้าที่ทำงานเดิม  เป็นต้น  โดยผู้สมัครต้องขออนุญาตผู้รับรองก่อน  ตัวอย่าง  บุคคลที่ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับนิสัยส่วนตัว และการปฏิบัติงานของผมได้จากบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
                                1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช  วงศ์ภินันท์วัฒนา   ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร. 0-1717-4419
2.       อาจารย์วาลี  ขันธุวาร  ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคม
ศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร. 0-4324-6887”
                4.  ย่อหน้าสุดท้าย  กล่าวถึงความมั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณา เช่น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จดหมายสมัครงานของผมคงได้รับการพิจารณาด้วยดี  ผมพร้อมที่จะมารับการสัมภาษณ์ หรือเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อใดก็ได้  ตามที่ท่านประสงค์
                นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้นดังกล่าวแล้ว  ผู้สมัครอาจให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ถ้าหากผู้ประกาศประสงค์จะทราบรายละเอียดบางอย่างซึ่งผู้สมัครจะต้องเขียนให้ดีเพราะจดหมายสมัครงานเป็นเสมือนภาพสะท้อนทั้งด้านบุคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้สมัคร  การเขียนจึงต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอ  มีความกระจ่างชัด ตรงไปตรงมา  มีความสุภาพอ่อนน้อม และมีความถูกต้องด้านการใช้ภาษา  แต่ไม่ควรใช้คำพูดที่ยกตนข่มท่าน  ประจบสอพอ หรือให้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ที่สมัคร 

                การเขียนจดหมายธุรกิจ

                การเขียนจดหมายธุรกิจ  หมายถึง  การเขียนจดหมายติดต่อระหว่างบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ หรือบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไป  เช่น  การสั่งซื้อสินค้า  การสอบถามราคา  การขอเปิดเครดิต  เป็นต้น  การเขียนจดหมายธุรกิจประเภทนี้จึงต้องใช้ข้อความที่กระชับรัดกุม ได้ใจความสมบูรณ์  ตรงไปตรงมา  และสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกัน
                จดหมายธุรกิจแบ่งได้เป็น 6 ชนิด คือ
1.       จดหมายขอเปิดเครดิต หรือ จดหมายขอเปิดบัญชีเงินเชื่อ และจดหมายตอบรับหรือปฏิเสธการให้เครดิต
2.       จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ
3.       จดหมายสอบถาม และตอบสอบถาม
4.       จดหมายสั่งซื้อสินค้า และตอบรับการสั่งซื้อ
5.       จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
6.       จดหมายทวงหนี้หรือเตือนหนี้
การเขียนจดหมายธุรกิจนั้น  นอกจากจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาในข้อความจดหมายที่เขียน
แล้ว  ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบจดหมายด้วย  เพราะเมื่อผู้อ่านเปิดจดหมายอ่านในครั้งแรกและเกิดความประทับใจในตัวจดหมายก็จะทำให้ธุรกิจของเราประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว  รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่
1.       แบบสี่เหลี่ยมเต็มรูป (Full-block style)  เป็นแบบที่เขียนให้ทุกบรรทัดชิดขอบซ้ายของกระดาษจดหมาย
2.       แบบสี่เหลี่ยม (Block style) เป็นแบบที่เขียนให้ทุกบรรทัดชิดขอบซ้ายของกระดาษ ยกเว้นวันเดือนปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ อยู่กึ่งกลางกระดาษ
3.       แบบกึ่งสี่เหลี่ยม (Semi-block style)  เป็นแบบที่คล้ายกับแบบสี่เหลี่ยม  แต่ให้เนื้อหาหรือข้อความของจดหมายย่อหน้าเข้าไปประมาณ 1 นิ้ว

รูปแบบจดหมายดังกล่าวนั้น เป็นรูปแบบของจดหมายธุรกิจของต่างประเทศที่นิยมใช้กัน 

แต่ในทางปฏิบัติอาจจะมีการดัดแปลงให้เหมาะสมหรือความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ทำก็ได้  และการใช้รูปแบบของจดหมายตามรูปแบบของหนังสือราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.. 2526 ก็เป็นที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจเหมือนกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ๆ ว่าต้องการใช้รูปแบบของจดหมายแบบใด
                โดยทั่วไปจดหมายธุรกิจจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.       หัวจดหมาย  เป็นชื่อ-ที่อยู่ของบริษัท ห้างร้าน ซึ่งมักพิมพ์หัวจดหมายไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อสะดวกในการใช้โดยไม่ต้องเขียนที่อยู่อีก
2.       วันที่ เดือน ปี  เป็นการระบุวันเดือนปีที่เขียนจดหมาย ซึ่งนิยมเขียนดังนี้คือ
1  สิงหาคม  2546
3.       ชื่อและที่อยู่ผู้รับ เป็นการเขียนชื่อหรือนามบริษัท ห้างร้านพร้อมทั้งที่อยู่ หรืออาจระบุตำแหน่งหน้าที่ก็ได้
4.       คำขึ้นต้น  ใช้คำขึ้นต้นให้เหมาะสมแก่ฐานะและบุคคล ที่นิยมใช้ในทางธุรกิจ ได้แก่ เรียน  ถึง  หรือกล่าวขึ้นลอย ๆ ว่า ท่านผู้มีอุปการะคุณ
5.       คำลงท้าย  ใช้คำลงท้ายที่เหมาะสมแก่บุคคลและสอดคล้องกับการใช้คำขึ้นต้น ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ว่า ขอแสดงความนับถือ
6.       ลายมือชื่อ  เป็นการลงลายมือชื่อของผู้เขียนจดหมาย ซึ่งตามปกติจะมีการลงลายมือชื่อหวัด (ลายเซ็น) และวงเล็บชื่อสกุลตัวบรรจงข้างล่างลายเซ็นและตามด้วยตำแหน่งในบรรทัดถัดมาก็ได้
7.       อักษรย่อ  เป็นการใส่อักษรชื่อย่อของตนควบคู่กับชื่อย่อของคนพิมพ์ หรือใส่เฉพาะชื่อย่อของคนพิมพ์ก็ได้ เช่น ปน/วร  หรือ วร เป็นต้น
8.       สิ่งที่ส่งมาด้วย  เป็นเอกสารหรือสิ่งของแนบมากับจดหมายนั้น

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.       ให้นักศึกษาพิจารณาจดหมายธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่เคยได้รับ หรือพบเห็นว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างจากหลักการโดยทั่วไปอย่างไร
2.       ให้นักศึกษา search  ข้อมูลใน website ต่าง ๆ ว่ามีการนำเสนอจดหมายทาง webpage หรือไม่  ถ้ามีเป็นจดหมายประเภทใด  และมีวิธีในการนำเสนออย่างไร
3.       นักศึกษาคิดว่าการเขียนจดหมายทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จควรมีรูปแบบ  ลักษณะ  และการใช้ภาษาอย่างไร