วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


เครือข่ายแลน

เครือข่ายแลน=เเป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ๆมีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ

(7. ยศนิธิ)

เครือข่ายแลน    เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ ๆ มีพื้นที่จำกัดไม่เกิน   10  กิโลเมตร  โดยมี จุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็ก ๆ  หรือในองค์กรเดียวกัน                      
เชิร์ฟเวอร์   นิยมเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน 

(8. ธรรมนิตย์)

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษร ที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc


(9. พงศกร)


เครือข่ายแมน เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างท้องถิ่นหรือสำนักงานที่มีอาคารหรือสำนักงานอยู่ในหลายพื้นที่แต่อยู่ในประเทศหรือเมืองเดียวกันโดยมุ่งเน้นการใช้งานร่วมกันเฉพาะกลุ่มไม่เปิดบริการให้ใช้แบบสาธารณะจึงมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายค่อนข้างสูง


(10. สุรดิษ)

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc



(11. อรรถพล)





(12. กิตติพงษ์)




(13. ชนินทร์)

จานแม่เหล็ก  มีลักษณะเป็นวงกลม แบน และเครือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจนมีทั้งขั้วบวกและ ขั้วลบ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ข้อมูลดิจิทัล ทำให้สามารถ บันทึกข้อมูลได้


(14. ธัญญ)

เซิร์ชเอนจิ้น   เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภทเซริท์เอนจิ้นประเภทที่นิยมมากที่สุด  คือ  การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ    
 จุดเชื่อมโยง  วัตถุหรือข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อโยงวัตถุหรือข้อมูลอื่น ๆ  ได้ด้วยการคลิกโดยวัตถุหรือข้อมูลนั้นอาจเป็นตัวอักษร ข้อความ  ภาพ  หรือภาพเคลื่อนไหว


(15. รวิสุทธิ์)

คอมพิวเตอร์แบบพกพา         คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และส่งเสริมการทำงานด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อส่งเสริมการใช้งานแบบอิสระไม่นิยมติดตั้งไว้ในสถานที่เดียวเหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


(16.  สาธิต)

เคอร์เซอร์  ตัวชี้ตำแหน่งที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยปกติจะมีรูปแบบเป็นหัวลูกศร สำหรับชี้ตำแหน่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเคอร์เซอร์ในโปรแกรมประมวลผลจะมีลักษณะคล้ายตัวไอ (I) ในภาษอังกฤษ เพื่อแสดงตำแหน่งที่พิมพ์

(17. ณัฏฐาภรณ์)
เท็กซ์ไฟล์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการเก็บข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท็กซ์ไฟล์มักมีนามสกุล .txt และ .doc




(18. ณัฏฐณิชา)

ตรรกศาสตร์
องค์ความรู้ที่กล่าวถึงความเป็นไปได้หรือความเป็นเหตุเป็นผล ประกอบด้วยจริงและเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์นำมาใช้แทนค่า 0 และ 1 ในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรแกรม หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์


(19. สุวภัทร)


มัลติเมียเดีย   การนำเสนอข้อมูลหลายประเภทพร้อมๆกันที่สามารถนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีหลายๆชนิดประกอบกันหรือนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีเพียงชิ้นเดียวก็ได้ เช่น การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในเว็บไซต์พร้อมๆกัน


(20. ตรงศร)

ไมโครชิป  สื่อบันทึกข้อมูลประเภทนึง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่

(21.วริศรา)

รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า

(22. พิมพ์วิมล) 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานหรือตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ


(23. พุทธิดา)


ระบบสารสนเทศเพื่อประมวลผล เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลผลรายการธุรกรรม ข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำเพื่อสนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติการ


(24. พิมพ์ชนก)


เน็ตบุ๊ค   อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊คแต่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่า นิยมใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้สร้างชิ้นมากเหนือคอมพิวเตอร์ทั่วไป


(25. คชาภรณ์)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 
การกระทำความผิดทางกฏหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
อินเทอร์นัลโมเด็ม 
เป็นโมเด็มทีติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ มีราคาถูก ติดตั้งและซอมแซมได้ยาก เวลาทำงานจะเกิดความร้อนซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์


(26.  เอมิกา)

Batch processing: การประมวลผลแบบกลุ่ม การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม




(27. กมลวรรณ)

โลกาภิวัตน์    การเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ประชากรโลกเกิดการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว มีความหมายเหมือนกับโลกานุวัตร
เวอร์ชัน  รุ่นของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่นเดิม โดยในเวอร์ชันของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มักจะแสดงไว้ด้ายหลังชื่อของผลิตภัณฑ์


(28. ชนิสร)

ไคลเอนต์  เรียกอีกอย่างว่า เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องที่ต้องให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลและเครื่องที่สามารถประมวลผลได้เอง ปกติจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเซิร์ฟเวอร์

(29. ธัญญาลักษณ์)

คลิปวีดีโอ    ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงที่ที่เป็นเหตุการณ์จริง  ซึ่งบันทึกไว้ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กนิยมอัพโหลดไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตปัจจุบันสามารถเรียกดูได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 

(30.  ธิธาน)

Scanner (สแกนเนอร์) เป็นอุปกรณ์ที่จับภาพจากเครื่องพิมพ์ภาพ (photographic print) โปสเตอร์ หน้านิตยสาร และแหล่งคล้ายกันสำหรับการแก้ไขและแสดงผลของคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ มาใน hand-held, feed-in และ ประเภท flatbed และสำหรับการสแกนเฉพาะดำขาว หรือสี สแกนเนอร์ความละเอียดสูงได้รับการใช้สำหรับการสแกนสำหรับการพิมพ์ความละเอียดสูง แต่สแกนเนอร์ความละเอียดต่ำเพียงพอสำหรับการจับภาพสำหรับการแสดงผลจอภาพ ตามปกติ สแกนเนอร์มากับซอฟต์แวร์ เช่น ผลิตภัณฑ์Adobe Photoshop ที่ให้ปรับขนาดและการปรับปรุงอื่นกับภาพที่จับมา ตามปกติ สแกนเนอร์แนบติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับ Small  Computer System Interface (SCSI) การประยุกต์ เช่นPhotoshop ใช้โปรแกรม TWAIN อ่านภาพ




(31. นภัสสร)

อินเตอร์เน็ตคาเฟ่                   

ร้านที่ให้บริการเช่าคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอรืเน็ตโดยคิดค่าบริการเป็นนาทีหรือชั่วโมง ปัจจุบันนิยมบริการอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปกับเกมประเภทที่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

อีเบย์

เว็บไซต์ที่ให้บริการโพสต์ (Post) และเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบ shopping Mall โดยผู้ซื้อและผู้จำหน่ายจะต้องสมัครเป็นสามชิกจึงจะสามารถใช้บริการได้

(32. ปาริฉัตร)

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


(33.  ภนิดา)

รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า


(34. รัตติกาล)

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  นิยมเรียกว่า อีเมล (E-mail) เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  โดยผู้ส่งจะต้องมีที่อยู่หรือแอดเดรส (Address)



(35. ลัดดา)

ผู้เชี่ยวชาญ    ผู้ชำนาญการหรือผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะสาขาของตนเอง

(36. วรางคณา)
สารสื่อสารไร้พรมแดน ความหมาย ระบบการติดต่อสื่อสารที่ทุกคนสามารถติดต่อกันได้ทุกเวลาทุกสถานที่


(37. ศจี)

การประมวลผล  การจัดการข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดสารสนเทศ เช่น การเปรียบเทียบ การคำนวณ การสรุป


(38. สุรัตนา)

ซอฟต์แวร์ระบบ  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์  เพื่อให้องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้

(39. หทัยกาญจน์)

พระราชบัญญัติ   กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
พระราช บัญญัติ    กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น


(1. พิทักษ์)



(2. ภาณุวัฒน์)


ไฟล์ข้อมูล 
      รูปแบบของข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ ได้จากลักษณะของไอคอนและนามสกุลของไฟล์ข้อมูล



(3. จิตรกร)
อัพโหลด  การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปเก็บรักษาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์สำหลับถ่ายโอนข้อมูลโดยเฉพาะ

(4. วิริทธิ์พล)


   มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียง และวีดิทัศน์
                  มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์(Interactive Multimedia)
             มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน  ภาพ กราฟฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น
             ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย  คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)   การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง  สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย ชาน่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


(5. สิริชัย)


อาชญากรคอมพิวเตอร์  ผู้กระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้คือ มือสมัครเล่น (Amateur) ซึ่งจะกระทำความผิดเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น แครกเกอร์ (Cracker) ที่เป็นผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และอาชญากรมืออาชีพ (Career Criminals) ที่มีความรู้ทางเทคนิคค่อนข้างสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น










วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครือข่ายแลน

เครือข่ายแลน=เเป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ๆมีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ



   แหล่งที่มา ครูผานิต  เพียรมาก

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้


หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้



หมายเหตุ

         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


แหล่งที่มา  http://ployfinalinternet.blogspot.com